๕. มังรายศาสตร์

| | |
๕. มังรายศาสตร์



       มังรายศาสตร์เป็นหนังสือใบลานที่เก่าแก่ที่สุด  ต้นฉบับเดิมเขียนเป็นภาษาไทยเหนือ มังรายศาสตร์เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  วินิจฉัยมังราย  หมายความว่าเป็นคำพิพากษาของพระเจ้ามังราย
ผู้แต่ง   พระเจ้ามังรายหรือพระยามังราย    กษัตริย์แห่งอาณาจักรลานนาไทยพระราชโอรสของพระเจ้าลาวเม็ง  เจ้าแห่งวงศ์หิรัญนคร  ผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อเจริญวัย  พระราชบิดามีรับสั่งให้ไปครองนครเชียงราย  พระเจ้ามังรายก็ทรงทำหน้าที่ในการปกครองได้อย่างดีเยี่ยม ทรงตีเมืองหริภุญไชยที่อยู่ในการครอบครองของมอญได้สำเร็จ ขณะมีพระชนมายุได้ 43  พรรษา เมื่อขึ้นครองราชย์ปกครองอาณาจักรลานนา  พระองค์ได้ทรงสร้างเมืองเชียงใหม่ให้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรลานนา
ความมุ่งหมาย             เพื่อใช้ในการพิจารณาคดีความ
ลักษณะการแต่ง            แต่งเป็นร้อยแก้ว                  
เนื้อหาสาระ      มังรายศาสตร์เป็นหนังสือกฎหมายที่ได้รวบรวมเรียบเรียงมาจากหนังสือธรรมศาสตร์   ซึ่งเป็นคัมภีร์กฎหมายเก่าแก่ของอินเดีย   ที่ถูกมอญดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพของตนไปบ้างแล้ว   
ตอนแรก  กล่าวถึงการสืบสันตติวงศ์ลานนา   การสร้างเมืองเชียงใหม่และวัตถุประสงค์ในการแต่ง  คำนำ  ใช้คำว่าสิทธิสวัสดี  กล่าวถึงกฎหมายที่ได้รู้มาแต่โบราณ พระเจ้ามังรายจึงบัญญัติไว้เพื่อให้ท้าวพระยาทั้งหลายผู้เป็นลูกหลานเหลน   และเสนาอมาตย์ผู้ปกครองเมืองสืบไปได้รู้จักผิดรู้จักชอบ
ตอนที่สอง   กล่าวถึงเรื่องระเบียบการปกครอง  ซึ่งสมัยนั้นได้มีการจัดการปกครองออกเป็นหมู่ๆ หมู่ละ    10   คนบ้าง    100 คนบ้าง 1,000 คนบ้าง  10,000 คน  100,000 คนบ้าง  โดยมีหัวหน้าทำหน้าที่ในการปกครองในแต่ละหมู่
     ตอนที่สาม  กล่าวถึงเรื่องของตัวบทกฎหมาย  ที่มีคำอธิบายพร้อมเหตุผลประกอบ  มีจริยธรรมสอดแทรก      และมีลักษณะของความยืดหยุ่นเพื่อความเหมาะสมอีกด้วย
คุณค่า   ทางด้านด้านนิติศาสตร์ 
    มังรายศาสตร์เป็นกฎหมายที่ให้คุณค่าทางนิติศาสตร์หลายประการ    ให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์ กฎหมายแต่ละบทมีเหตุผลประกอบ  และยังสอดแทรกคุณค่าทางจริยธรรมเข้าไปอีก

ตัวอย่างบางตอน  

"ในการรบผู้ใดหลบหนีละทิ้งผู้บังคับบัญชา  ให้ฆ่าเสีย  ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นมีดังนี้  ไพร่  นายสิบ  นายห้าสิบ  นายร้อย  เจ้าพัน  เจ้าหมื่น  เจ้าแสนและพระยา   เมื่อฆ่าแล้วให้ริบครอบครัวทรัพย์สินทั้งสิ้น  เพื่อมิให้ผู้อื่นดูเยี่ยมอย่าง"

          "เดิมเป็นไพร่เอาตัวไม่รอด  จึงเข้าไปเป็นข้าของขุนท้าวพระยา  ต่อมาพ่อแม่พี่น้องผู้เป็นไพร่ตาย    โดยไม่ได้สั่งเสียเรื่องมรดกไว้  หากมันจะไปขอรับมรดกไม่ควรให้รับ  ยกเว้นกรณีที่ผู้ตายสั่งให้ไว้  ก็ให้รับมรดกเท่าที่สั่งไว้ได้   เพราะว่ามันเอาตัวไม่รอดจะพลอยพาพี่น้องอื่นล่มจมไปด้วย"











 

1 ความคิดเห็น:

ธรรมั กล่าวว่า...

น่าอ่านน เดี๋ยวหามาอ่านค่ะ

แสดงความคิดเห็น