๑๓.นาฏวรรณคดี

| | |

๑๓.  นาฏวรรณคดี

          ในสมัยอยุธยาตอนปลายมีความเจริญของวรรณดีประเภทละครอย่างมากทั้งละครใน ละครนอก และละครชาตรี
๑.ละครใน หรือละครหลวง
  • ใช้แสดงในพระราชพิธี ผู้แสดงเป็นหญิงล้วน 
  • มีทั้งบทร้อง และบทรำ
  • เรื่องที่แสดง คือ รามเกียรติ์ อุณรุท ดาหลัง และอิเหนา
๒. ละครนอก หรือละครชาวบ้าน
  • ใช้ผู้ชายแสดงล้วน
  • เดิมเรียกว่า ละคร แต่ภายหลังมีละครในเกิดขึ้นจึงเรียก ละครนอก
  • เรื่องที่แสดงมี ๑๔  เรื่อง คือ การะเกด คาวี ไชยทัต พิกุลทอง พิมพ์สวรรค์ พิณสุริยวงศ์ มโนห์รา โม่งป่า มณีพิชัย สังข์ทอง สังข์ศิลป์ชัย สุวรรณศิลป์ สุวรรณหงส์ และโสวัต สมัยรัตนโกสินทร์ มีบทพระราชนิพนธ์ละครนอกในรัชกาลที่ ๒ อีก ๖ เรื่อง คือ สังข์ทอง ไชยเชษฐ์ ไกรทอง มณีพิชัย คาวี และสังข์ศิลป์ชัย
๓. ละครชาตรี
  • เดิมใช้ชายล้วน มีตัวละครเพียง ตัวพระ ตัวนาง และตัวตลก
  • เรื่องที่ใช้แสดงมีเรื่องเดียว คือ มโนราห์ จึงเรียกอีกชื่อว่า มโนราห์
  • ถือเป็นละครที่ถือกำเนิดในสมัยกรุงศรีอยุธยา แถบภาคใต้

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น