๑.ศิลาจารึก หลักที่ ๑

| | |

  ๑. ศิลาจารึก หลักที่ ๑


               ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง  บางทีเรียกว่า  จารึกหลักที่    เป็นจารึกที่สำคัญและยกย่องว่าเป็นวรรณคดีเรื่องแรกของไทยที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร  ทั้งนี้เพราะการใช้ภาษาในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงนั้นเข้าลักษณะสากลที่ว่า  ภาษาของคนโบราณมักใช้ถ้อยคำพื้นๆ  ประโยคที่ใช้กินความเป็นภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน  บางตอนมีเสียงของคำสัมผัส  ฟังไพเราะเข้าลักษณะของวรรณคดีได้  ปัจจุบันศิลาจารึกจัดแสดงไว้ที่ห้องประวัติศาสตร์ชาติไทยในพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

  ผู้แต่ง สันนิษฐานว่าผู้แต่งอาจมีมากกว่า  ๑  คน  เพราะเนื้อเรื่องในหลักศิลาจารึกแบ่งได้เป็น 

 ตอนที่    ใช้คำแทนชื่อว่า  กู  เข้าใจว่าพ่อขุนรามคำแหงคงจะทรงแต่งเอง

 ตอนที่  ๒ และ ๓  เข้าใจว่าจะต้องเป็นผู้อื่นแต่งเพิ่มเติมภายหลัง 

  ความมุ่งหมาย  เพื่อบันทึกเรื่องราวต่างๆ  ในสมัยกรุงสุโขทัย  ลักษณะการปกครอง  ชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร  ตลอดจนบรรยายถึงความเจริญรุ่งเรือง  และความสมบูรณ์พูนสุขของกรุงสุโขทัย

  ลักษณะการแต่ง  แต่งเป็นร้อยแก้วที่มีลักษณะเป็นภาษาไทยแท้  เป็นประโยคสั้นๆ  กะทัดรัด    บางตอนมีเสียงสัมผัสคล้องจองกันบ้างระหว่างวรรค

  เนื้อหาสาระ 

  ตอนที่    เป็นเรื่องราวของพ่อขุนรามคำแหงทรงเล่าประวัติของพระองค์ตั้งแต่ประสูติจนได้เสวยราชย์  ใช้คำแทนชื่อว่า  "กู"  เป็นพื้น  จึงเป็นทำนองอัตชีวประวัติ

  ตอนที่  ๒  เนื้อเรื่องเป็นการเล่าเหตุการณ์ต่างๆ  และขนบธรรมเนียมของกรุงสุโขทัย  การสร้างพระแทนมนังคศิลา  การสร้างวัดมหาธาตุ  เมืองศรีสัชนาลัย  และการประดิษฐ์อักษรไทย

  ตอนที่    เนื้อเรื่องเป็นการกล่าวสรรเสริญและยอพระเกียรติพ่อขุนรามคำแหง  และกล่าวถึงอาณาเขตของกรุงสุโขทัยที่แผ่กว้างออกไป

  คุณค่า ๑. ด้านประวัติศาสตร์   ให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชประวัติพ่อขุนรามคำแหง  จารึกไว้ทำนองเฉลิมพระเกียรติ    ตลอดจนความรู้ด้านประวัติศาสตร์  โบราณคดี   และสภาพสังคมของกรุงสุโขทัย  ทำให้ผู้อ่านรู้ถึงความเจริญรุ่งเรืองของกรุงสุโขทัย  พระปรีชาสามารถของพ่อขุนรามคำแหง  และสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวสุโขทัย

        ๒. ด้านสังคม   ให้ความรู้ในด้านกฎหมายและการปกครองในสมัยสุโขทัย

        ๓. ด้านวัฒนธรรม  ให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมและประเพณีของชาวสุโขทัย

        ๔. ด้านภาษา  จารึกของพ่อขุนรามคำแหงเป็นหลักฐานสำคัญที่สุด  ที่แสดงให้เห็นถึงกำเนิดของวรรณคดีและอักษรไทย 

  ตัวอย่าง   

                "พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์   แม่กูชื่อนางเสือง   พี่กูชื่อบานเมือง   ตูพี่น้องท้องเดียวห้าคน  ผู้ชายสาม  ผู้ญิ่งโสง  พี่เผือผู้อ้ายตายจากเผือเตียมแต่ยังเล็ก" 

                "เมื่อชั่วพ่อกู   กูบำเรอแก่พ่อกู   กูบำเรอแก่แม่กู   กูได้ตัวเนื้อตัวปลา   กูเอามาแก่พ่อกู   กูได้หมากส้มหมากหวาน   อันใดกินอร่อยกินดี  กูเอามาแก่พ่อกู  กูไปตีหนังวังช้างได้  กูเอามาแก่พ่อกู  กูไปท่บ้านท่เมือง  ได้ช้างได้งวง  ได้ปั่วได้นาง  ได้เงือนได้ทอง  กูเอามาเวนแก่พ่อกู  พ่อกูตายยังพี่กู  กูพร่ำบำเรอแก่พี่กู  ดั่งบำเรอแก่พ่อกู  พี่กูตาย  จึงได้เมืองแก่กูทั้งกลม"


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น