๓. ไตรภูมิพระร่วง หรือเตภูมิกถา
หนังสือไตรภูมิพระร่วงเป็นหนังสือสำคัญสมัยกรุงสุโขทัยที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน
เป็นวรรณคดีทางศาสนาที่มีอิทธิพลต่อคนไทยมาก เดิมเรียกว่า "เตภูมิกถา
หรือไตรภูมิกถา"
ในการพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเปลี่ยนชื่อหนังสือเล่มนี้เป็น
"ไตรภูมิพระร่วง"
เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัยให้คู่กับหนังสือสุภาษิตพระร่วง
ผู้แต่ง พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท)
๒. เพื่อใช้สั่งสอนประชาชนให้มีคุณธรรมและช่วยกันดำรงพระพุทธศาสนาไว้ให้ยั่งยืน
ลักษณะการแต่ง แต่งเป็นร้อยแก้ว
เนื้อหาสาระ เริ่มต้นด้วยคาถานมัสการเป็นภาษาบาลี ต่อไปมีบานแพนกบอกชื่อผู้แต่ง วันเดือนปีที่แต่ง บอกชื่อคัมภีร์ บอกความมุ่งหมายในการแต่ง แล้วจึงกล่าวถึงภูมิทั้ง ๓
ว่า
"อันว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมจะเวียนวนไปมาและเกิดในภูมิ ๓
อันนี้แล" คำว่า "ไตรภูมิ" แปลว่า
สามแดน คือ กามภูมิ
, รูปภูมิ ,
และอรูปภูมิ
ทั้ง ๓ ภูมิแบ่งออกเป็น ๘
กันฑ์ คือ
๑. กามภูมิ มี ๖ กัณฑ์
คือ
๑.๑.
นรกภูมิ เป็นแดนนรก
๑.๒.
ดิรัจฉานภูมิ
เป็นแดนของสัตว์ที่เจริญตามขวาง
๑.๓.
เปตภูมิ
เป็นแดนของเปรตที่เคยเป็นมนุษย์และทำความชั่วเกิดเป็นเปรต
๑.๔.
อสุรกายภูมิ
เป็นแดนของยักษ์มารหรือผีที่หลอกมนุษย์ให้ตกใจกลัว
๑.๕.
มนุสสภูมิ เป็นแดนของมนุษย์
๑.๖.
ฉกามาพจร
เป็นแดนของเทวดาที่ยังเกี่ยวข้องในกาม
มี ๖ ชั้น คือ
จาตุมหาราชิก , ดาวดึงส์ ,
ยามะ , ดุสิต , นิมมานรดี , ปรนิมมิตวสวดี
๒. รูปภูมิ
มี ๑
กัณฑ์ คือ รูปาวจรภูมิ
เป็นแดนของพรหมที่มีรูป แบ่งเป็น ๑๖
ชั้น ตามภูมิธรรม เรียกว่า
โสฬสพรหม
๓. อรูปภูมิ
มี ๑
กัณฑ์ คือ อรูปาวจรภูมิ
เป็นแดนของพรหมไม่มีรูป มีแต่จิต
แบ่งเป็น๔ ชั้น
คุณค่า ๑. ด้านศาสนา ไตรภูมิพระร่วงเป็นหนังสืออ่านยาก
ตั้งแต่สมัยสุโขทัยตลอดมาจนกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ผู้ที่นำไตรภูมิไปสู่ชาวบ้านก็คือพระสงฆ์
และนำไปโดยการเทศนา
ทำภาษายากให้เป็นภาษาง่ายที่ชาวบ้านเข้าใจได้
โดยเฉพาะเนื้อเรื่องนั้นมีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับบาปบุญคุณโทษ การเกิดการตาย เกี่ยวกับโลกทั้งสาม (ไตรภูมิ)
ซึ่งทำให้คนสมัยกรุงสุโขทัยเข้าใจเรื่องชีวิตของตนเองว่าเกิดมาอย่างไร ตายแล้วไปไหน
โลกที่อยู่ปัจจุบันและโลกหน้าเป็นอย่างไร
๒. ด้านภาษา สำนวนโวหารในไตรภูมิ โดยเฉพาะพรรณนาโวหารนั้นประณีตละเอียดลออเป็นอย่างยิ่ง จนทำให้นึกเห็นสมจริง ให้เห็นสภาพอันน่าสยองขวัญของนรก สภาพอันรุ่งเรืองบรมสุขของสวรรค์ จนจิตรกรอาจถ่ายบทพรรณนานั้นลงเป็นภาพได้ เราจะเห็นภาพฝาผนังของวิหารและโบสถ์ตามวัดต่างๆ
ไป (นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทางภาษาระหว่างสมัยพ่อขุนรามคำแหงกับสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท)
๓.ด้านสังคม มุ่งใช้คุณธรรมความดีเป็นพื้นฐานการสร้างสรรค์ความสุขในสังคม
๔. ด้านอิทธิพลต่อกวียุคหลังกวียุคหลังได้ใช้ไตรภูมินี้เป็นแนวพรรณนาป่าหิมพานต์ เขาพระสุเมรุ
วิมานพระอินทร์
ส่วนจิตรกรได้อาศัยความคิด
ความเชื่อในไตรภูมิ
เป็นแนวการสร้างสรรค์งานศิลปะ รวมความว่า ไตรภูมิพระร่วงเป็นหนังสือเก่าชั้นวรรณคดีที่มีอิทธิพลต่อความคิดอ่านของคนไทยในเรื่องบาปบุญคุณโทษ ในด้านจิตรกรรมฝาผนังโบสถ์ต่างๆ
และวรรณคดีตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยปัจจุบัน
หนังสือนี้แสดงให้เห็นพระปรีชาสามารถของพระยาลิไทในด้านศาสนา และใช้จริยธรรมในการบริหารบ้านเมือง และยังแสดงให้เห็นพระสติปัญญา ตลอดจนให้แนวคิดในเชิงปรัชญา สังคม
และค่านิยมของสังคมเป็นอย่างดียิ่ง
ตัวอย่างในไตรภูมิพระร่วง
"คนผู้ใดกล่าวคำร้ายแก่สมณพราหมณ์ผู้มีศิลและพ่อแม่และผู้เฒ่าผู้แก่ครูปาทยาย
คนผู้นั้นตาย ไปเกิดในนรกอันได้ขื่อว่า สุนักขนรกนั้นแล ในสุนักขนรกนั้นมีหมา ๔
สิ่ง
หมาจำพวกหนึ่งนั้นขาว
หมาจำพวกหนึ่งนั้นแดง
หมาจำพวกหนึ่งนั้นดำ
หมาจำพวกหนึ่งนั้นเหลือง
และตัวหมาผู้นั้นใหญ่เท่าช้างสารทุกตัว
ฝูงแร้งแลกาอันอยู่ในนรกนั้นใหญ่เท่าเกวียนทุกตัว ปากแร้งแลกาแลตีนนั่น
เทียรย่อมเหล็กแดงลุกเป็นเปลวไฟอยู่มิได้เหือดสักคาบ
แร้งแลกาหมาฝูงนั้นเทียรย่อมจิกแหกหัวอกขบตอดคนทั้งหลายในนรกด้วยบาปกรรมของเขานั้น แลมิให้เขาอยู่สบายแลให้เขาเจ็บปวดสาหัส ได้เวทนาพ้นประมาณ ทนอยู่ในนรกอันชื่อสุนักขนรกนั้นแล"
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น