๓. มหาชาติคำหลวง

| | |
๓. มหาชาติคำหลวง

ประวัติ     มหาชาติคำหลวงเป็นหนังสือมหาชาติฉบับภาษาไทย    และเป็นประเภทคำหลวงเรื่องแรก  เรื่องเกี่ยวกับผู้แต่งและปีที่แต่งมหาชาติคำหลวงปรากฏหลักฐานในเรื่องพงศาวดารฉบับคำหลวงกล่าวยืนยันปีที่แต่งไว้ตรงกับมหาชาติคำหลวงเดิมที่หายไป      ๖     กัณฑ์   พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีพระบรมราชโองการให้พระราชาคณะและนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งซ่อมให้ครบ  ๑๓ กัณฑ์  เมื่อจุลศักราช ๑๑๗๖  พุทธศักราช ๒๓๔๗  ได้แก่  กัณฑ์  หิมพานต์  ทานกัณฑ์  จุลพน  มัทรี  สักกบรรพ  และฉกษัตริย์
ทำนองแต่ง  แต่งด้วยคำประพันธ์หลายอย่าง คือ  โคลง ร่าง กาพย์ และฉันท์  มีภาษาบาลี แทรกตลอดเรื่องมหาชาติคำหลวงเรื่องนี้เป็นหนังสือประเภทคำหลวง
ความมุ่งหมาย  เพื่อใช้อ่านหรือสวดในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันเข้าพรรษา  และอาจเรียกรอยตามพระพุทธธรรมราชาลิไท ซึ่งพระราชนิพนธ์เรื่องไตรภูมิพระร่วง
เรื่องย่อ  มหาชาติคำหลวง แปลว่าชาติใหญ่ ชาติสำคัญ เป็นหนังสือที่กล่าวถึงการบำเพ็ญทานอย่างยิ่งใหญ่  ของพระเวสสันดรโพธิสัตว์  เป็นการบำเพ็ญบารมีครบทั้ง ๑๐ บารมี  และเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะมาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่กล่าวเป็นทานบารมีที่ยิ่งใหญ่  เพราะเป็นการบริจาคบุตรและภรรยา  ซึ่งเป็นการยากหาผู้จะทำได้  พระองค์ทรงบริจาคทานทุกอย่างด้วยศรัทธาแรงกล้า มหาชาติคำหลวง ซึ่งได้กล่าวแล้วว่าฉบับเดิมเป็นภาษามคธ แต่งเป็นปัฐยาวัตรฉันท์  มีจำนวน ๑,๐๐๐ บทด้วยกัน



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น