๑. กาพย์มหาชาติ
กาพย์มหาชาติ เป็นวรรณคดีเก่าแก่เล่มหนึ่ง ที่แต่งขึ้นเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง และประวัติการแต่งก็ไม่ปรากฏแน่ชัด
แต่ถือว่ามีคุณค่าทั้งทางวรรณคดีและทางพุทธศาสนา
ประวัติ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า กาพย์มหาชาติน่าจะแต่งขึ้นในสมัยพระเจ้าทรงธรรม เมื่อมีประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตร่วมกันแต่งขึ้น ในช่วง พ.ศ.๒๑๔๕ - ๒๑๗๐
เนื้อหา ภาษา และคำประพันธ์
เนื้อหาของกาพย์มหาชาตินั้น
เป็นการเล่าเรื่องมหาชาติ หรือเรื่องมหาเวสสันดรชาดกนั่นเอง เป็นการแต่งแบบที่เรียกว่า ยกคาถา กล่าวคือ ยกคาถาภาษาบาลีขึ้นมาประโยคหนึ่ง แล้วแต่งภาษาไทยเล่า สลับไปเป็นช่วงๆ จนจบ
โดยใช้คำประพันธ์ที่เรียกว่าร่ายโบราณ หรือที่เรียกกันในสมัยนั้นว่า ร่ายมหาชาติ
เนื่องจากเป็นร้อยกรองที่แต่งไว้สำหรับการเทศน์เรื่องมหาชาตินั่นเอง แต่ละกัณฑ์ (ในกาพย์มหาชาติเรียกว่า บรรพ) มีความยาวไม่มาก
จุดมุ่งหมาย ใช้เทศน์ให้อุบาสกอุบาสิกาฟัง
ตัวอย่าง
จาก
กัณฑ์วนประเวศน์
*เต จัต์ตาโร
ขัต์ติยา* อันว่าพระบรมกษัตริย์ทั้งสี่ศรีสุริยวงศ์ เมื่อเสด็จบทจรประสงค์สู่เขาคิริยวงกฎ มิได้แจ้งทางที่กำหนดดำเนินไพร ด้วยความเข็ญใจก็จำเป็น ปติปเถ ทอดพระเนตรเห็นมหาชน อันเดินทวนทางถนนนั้นมา ก็ตรัสถามถึงมรคาเขาคันธมาทน์ ..."
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น