๕. จินดามณี
จินดามณี (มีความหมายว่า แก้วสารพัดนึก)
เป็นแบบเรียนภาษาไทย มีเนื้อหาครอบคลุมเรื่อง การใช้สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์
การแจกลูก การผันอักษร อักษรศัพท์ อักษรเลข การสะกดการันต์ การแต่งคำประพันธ์
ชนิดต่างๆ และกลบท ปรากฏกลบท อยู่ ๖๐ ชนิด มีทั้งจินดามณี
แต่งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลาง โดยพระโหราธิบดี ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
และยังเป็นแบบเรียนเล่มแรกของไทยด้วย และจากการที่จินดามณีของพระโหราธิบดี
เป็นแบบเรียนไทยมาก่อนจนเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของแบบเรียนไทย
ทำให้หนังสือแบบเรียนไทยในยุคต่อมาหลายเล่มใช้ชื่อตามว่า "จินดามณี"
เช่นเดียวกัน เช่น จินดามณีฉบับความแปลก จินดามณีครั้งแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ จินดามณีฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิท
จินดามณีฉบับพิมพ์ของหมอสมิท และจินดามณีฉบับพิมพ์ของหมอบรัดเลย์
ผู้แต่ง พระมโหราธิบดี
คำประพันธ์ เป็นร้อยแก้ว มีตัวอย่างคำประพันธ์ต่างๆ
วัตถุประสงค์
สมเด็จพระนารายณ์โปรดให้นักปราชญ์แต่งหนังสือเรียนภาษาไทยเพื่อไม่ให้เด็กไทยหันไปเรียนและไปนับถือศาสนาคริสต์
สาระสำคัญ กล่าวถึงอักษรศัพท์
เป็นคำศัพท์ที่มีเสียงคล้ายๆ กัน วิธีใช้อักษรต่างๆ การผันอักษร กำเนิดตัวอักษร
วิธีแต่งคำประพันธ์ชนิดต่าง ๆ
คุณค่า เป็นตำราเรียนภาษาไทยเล่มแรก เป็นหนังสือค้นคว้าอ้างอิงเกี่ยวกับภาษาไทยที่ดีที่สุด
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น