๕.กาพย์เห่เรือ

| | |

๕. กาพย์เห่เรือ


ผู้แต่ง : เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง)
ลักษณะคำประพันธ์ : แต่งเป็นกาพย์ห่อโคลง  มีโคลงสี่สุภาพนำ  1  บท  เรียกว่าเกริ่นเห่  และตามด้วยกาพย์ยานี 11  พรรณนาเนื้อความโดยไม่จำกัดจำนวนบท
จุดประสงค์ในการแต่ง : ใช้เห่เรือเล่นในคราวเสด็จฯ โดยทางชลมาครเพื่อไปนมัสการพระพุทธบาท  จังหวัดสระบุรี  การเห่เรือนอกจากจะเป็นที่สำราญพระราชอิริยาบถแล้ว  ยังเป็นการให้จังหวะแก่ฝีพายด้วย
เนื้อเรื่องย่อ :  

  • กล่าวถึงขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งประกอบด้วยเรือพระที่นั่งกิ่ง  และเรือที่มีโขนเรือเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ คือ  เรือครุฑยุดนาค เรือไกรสรมุข เรือสมรรถชัย เรือสุวรรณหงษ์ เรือชัย เรือคชสีห์ เรือม้า เรือสิงห์ เรือนาคา (วาสุกรี) เรือมังกร เรือเลียงผา เรืออินทรี  เห่ชมปลา 
  • กล่าวพรรณนาชมปลาต่าง ๆ มี ปลานวลจันทร์ คางเบือน ตะเพียน กระแห แก้มช้ำ ปลาทุก น้ำเงิน ปลากราย หางไก่ ปลาสร้อย เนื้ออ่อน ปลาเสือ แมลงภู่  หวีเกศ ชะแวง ชะวาด ปลาแปบ  
  • เห่ชมไม้ เมื่อเรือแล่นเลียบชายฝั่ง ชมไม้ที่เห็นตามชายฝั่ง ซึ่งมี นางแย้ม จำปา ประยงค์ พุดจีบ พิกุล สุกรม สายหยุด พุทธชาด บุนนาค เต็ง แต้ว แก้ว กาหลง มะลิวัลย์ ลำดวน  
  • เห่ชมนก เมื่อใกล้พลบค่ำเห็นนกบินกลับรัง ก็ชมนกต่าง ๆ มี นกยูง สร้อยทอง สาลิกา นางนวล แก้ว ไก่ฟ้า แขกเต้า ดุเหว่า โนรี สัตวา 
  • และจบลงด้วยบทเห่ครวญ เป็นการคร่ำครวญ คิดถึงนางที่เป็นที่รักในยามค่ำคืน

คุณค่าที่ได้รับ :  

  • คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์

          ๑. รูปแบบสอดคล้องกับเนื้อหา
          ๒. ดีเด่นทางด้านการพรรณนาให้เห็นภาพและให้อารมณ์ความรู้สึกดี
         ๓. ศิลปะการแต่งดี  มีกลวิธีพรรณนาโดยใช้การอุปมา  การเล่นคำ  การใช้คำที่แนะให้เห็นภาพ คำที่นำให้นึกถึงเสียง  คำที่แสดงอารมณ์ต่าง ๆ ได้ดี
  • คุณค่าทางด้านสังคม

          ๑. สะท้อนภาพชีวิตของคนไทยในปลายกรุงศรีอยุธยาที่ใช้การสัญจรทางน้ำเป็นสำคัญ เนื่องจากประเทศไทยมีแม่น้ำลำคลองมาก
          ๒. ให้ความรู้เกี่ยวกับขบวนพยุหยาตราทางชลมารค  และประเพณีการเห่เรือ
         ๓. สะท้อนให้เห็นขนบธรรมเนียมประเพณี  ต่านิยม  และความเชื่อของคนไทย เช่น ค่านิยมเกี่ยวกับความงามของสตรีว่าจะต้องงามพร้อมทั้งรูปทรง  มารยาท  ยิ้มแย้มแจ่มใส  และพูดจาไพเราะ ความเชื่อเรื่องเวรกรรมตามหลักพระพุทธศาสนา เป็นต้น

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น