๑๘. ลิลิตพระลอ
ผู้แต่ง ไม่ทราบแน่ชัด
ระยะเวลาในการแต่ง อาจเป็นรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ(พ.ศ.๒๐๑๗)หรือสมเด็จพระนารายณ์มหาราช(พ.ศ.๒๒๐๕)
ลักษณะคำประพันธ์ เป็นลิลิตสุภาพ
ประกอบด้วยร่ายสุภาพและโคลงสุภาพเป็นส่วนใหญ่
บางโคลงมีลักษณะคล้ายโคลงดั้นและโคลงโบราณ และร่ายบางบทเป็นร่ายโบราณและร่ายดั้น
วรรณคดีสโมสรให้เป็น ยอดของลิลิต
ความมุ่งหมาย
แต่งถวายพระเจ้าแผ่นดิน เพื่อให้เป็นที่สำราญหฤทัย
เรื่องย่อ
เมืองสรวงและเมืองสรองเป็นศัตรูกัน พระลอกษัตริย์เมืองสรวงทรงพระสิริโฉมยิ่งนัก
จนเป็นที่ต้องพระทัยพระเพื่อนพระแพงราชธิดาของท้าวพิชัยพิษณุกรกษัตริย์แห่งเมืองสรอง
นางรื่นนางโรยพระพี่เลี้ยงได้ขอให้ปูเจ้าสมิงพรายช่วยทำเสน่ห์ให้พระลอเสด็จมาเมืองสรวง
เมื่อพระลอต้องเสน่ห์ได้ตรัสลาพระนางบุญเหลือพระราชมารดา และนางลักษณวดีมเหสี
เสด็จไปเมืองสรองพร้อมกับนายแก้งนางขวัญพระพี่เลี้ยงพระลอทรงเสี่ยวน้ำที่แม่น้ำกาหลง
ถึงแม้จะปรากฏรางร้ายก็ทรงผืนพระทัยเสด็จต่อไป
ไก่ผีของปูเจ้าสมิงพรายล่อพระลอกับนายขวัญและนายแก้วไปจนถึงสวนหลวง นางรื่นนางโรยออกอุบายลอบนำพระลอกับนายแก้วและนายขวัญไปไว้ในตำหนักของพระเพื่อนพระแพง
ท้าวพิชัยพิษณุกรทรงทราบเรื่องก็ทรงพระเมตตารับสั่งจะจัดการอภิเษกพระลอกับพระเพื่อนและพระแพงให้
แต่พระเจ้าย่าเลี้ยงของพระเพื่อนพระแพงยังทรงพยาบาลพระลอ
อ้างรับสั่งท้าวพิชัยพิษณุกรตรัสสั่งใช้ให้ทหารไปรุมจับพระลอ
พระเพื่อนพระอพงและพระพี่เลี้ยงทั้งสี่ช่วยกันต่อสู้จนสิ้นชีวิตทั้งหมดท้าวพิชัยพิษณุกรทรงพระพิโรธพระเจ้าย่าและทหาร
รับสั่งให้ประหารชีวิตทุกคน พระนางบุญเหลือทรงส่งทูตมาร่วมงานพระศพกษัตริย์สาม
ในที่สุดเมืองสรวงและเมืองสรองก็เป็นไมตรีต่อกัน
คุณค่า
ด้านสังคม และวัฒนธรรม เป็นนิยายพื้นบ้านที่สะท้อนชีวิตทั้งด้านการปกครอง ประเพณี
วัฒนธรรม และความเชื่อต่างๆ
ด้านภาษา เป็นยอดของลิลิต
และเป็นตัวอย่างแก่กวีรุ่นหลัง
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น